โลโก้เว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ | วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ

ประชาสัมพันธ์ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ

เผยแพร่เมื่อ : จันทร์ 20 กุมภาพันธ์ 2566 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 7840 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้จัดตั้งสำนักประสานงานชุดโครงการ “อุตสาหกรรมฐานชีวภาพและความยั่งยืน” เพื่อเสริมสร้างศักยภาพด้านการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการด้วยการวิจัยและพัฒนา ที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาของประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจฐานชีวภาพ มุ่งเน้นอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างสำนักประสานฯ เปิดรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่เป็นโจทย์จากภาคอุตสาหกรรม ภายใต้กรอบการวิจัยดังนี้ 1) พัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในกลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพ เคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ ที่ใช้ชีวมวล หรือใช้ผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพเป็นวัตถุดิบ 3) พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการและใช้ประโยชน์จากของเสีย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาประเทศและสร้างความยั่งยืน 4) ค้นหาวัตถุดิบชีวมวลชนิดใหม่ที่มีศักยภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพในอนาคต     และกำหนดเงื่อนไขให้บริษัทเอกชนที่ร่วมโครงการต้องร่วมสนับสนุนทุนวิจัยเริ่มต้นจำนวน 20% (In cash และ In kind) และต้องเป็นรูปแบบเงินสด (In-cash) ไม่น้อยกว่า 10% ของงบประมาณโครงการ พร้อมทั้งมีแนวทางการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยเชิงพาณิชย์หรือแนวทางการใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอย่างชัดเจน     ในการนี้จึงขอประชาสัมพันธ์ทุนสนับสนุนการวิจัย เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพเคมีชีวภาพ และวัสดุฐานชีวภาพ (รายละเอียดตามเอกสารแนบที่ 1 - 2) ทั้งนี้หากนักวิจัยท่านใดมีความประสงค์ขอรับการสนับสนุนทุนวิจัย สามารถส่งแบบฟอร์มข้อเสนอเชิงหลักการโครงการวิจัย (Concept Proposal) (รายละเอียดตามเอกสารแนบที่ 3) มายังสำนักประสานฯ ที่อีเมลเดียวกันนี้ภายในวันที่ 20 มีนาคม 2566 โดยสามารถดาวน์โหลดเอกสารและแบบฟอร์มต่างๆ ได้ที่เฟซบุ๊ค Bioindustry NRCT หรือติดต่อสำนักประสานฯ ผ่านเบอร์โทรศัพท์ 02-470-9618 หรืออีเมล bioindustry.nrct@gmail.com สำหรับนักวิจัยที่ยังไม่มีเอกชนร่วมโครงการสามารถเสนอความเชี่ยวชาญมายังสำนักประสานฯ เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับจัดหาเอกชนต่อไป






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

Facebook Messenger icon