เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 18 พฤศจิกายน 2564 โดย นคร คำกิติ จำนวนผู้เข้าชม 4110 คน
ทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน กสศ. ขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังเสวนาออนไลน์ Little Big Communities Talks EP.1 ในหัวข้อ “เปลี่ยนกรอบคิด ชีวิตไม่ติด(กรอบ) การเรียนรู้ของผู้ไม่(ด้อย)โอกาส” งานเสวนาออนไลน์เปลี่ยนกรอบคิด ชีวิตไม่ติด(กรอบ) การเรียนรู้ของผู้ไม่(ด้อย)โอกาส ในวันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เวลา 9.00 – 12.00 น. ผ่านระบบ zoom
จากตัวแทนของคนทำงานจริงในพื้นที่ ที่จะมาร่วมแชร์ประสบการณ์การทำงานกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส กับแนวคิด วิธีการ การหนุนเสริมศักยภาพของกลุ่มคนเหล่านี้ นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พบกับตัวแทนหน่วยพัฒนาอาชีพ และผู้เข้าร่วมโครงการฯ ที่จะมาถ่ายทอดเรื่องราว อาทิ
• เรียนรู้อาชีพ…เพื่อชีวิตใหม่พ่อแม่วัยรุ่น คุณสุดาพร นาคฟัก กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
• ‘น้ำผึ้งมะนาวเปลี่ยนชีวิต’ คุณสุพิชญาณัฐ ทยาพลิศวงศ์ ตัวแทนเยาวชน กลุ่มฅนวัยใส จังหวัดเชียงใหม่
• ‘โอกาส’ ของคนหลังกำแพง อาจารย์พัชรนันท์ วงค์พนัสสัก วิทยาลัยชุมชนหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภูและแขกรับเชิญพิเศษอีกหนึ่งท่านที่มาถ่ายทอดเรื่องราว
• ‘น่านโมเดล’ หนึ่งรูปแบบการแก้ปัญหาเด็กที่มีความบกพร่องทางด้านร่างกายและสติปัญญา คุณปวีณา ตันเสนีย์ โครงการประสานงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาครูและเด็กนอกระบบการศึกษา: พื้นที่จังหวัดน่าน ลำปาง ตาก
สำหรับงานเสวนาออนไลน์ในช่วงที่สอง เรื่อง ‘เรียนรู้นอกกรอบ(คิด)’ ได้รับเกียรติจากวิทยากรพิเศษ และผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิด อาทิ
• แค่เปลี่ยนความคิด...ชีวิตก็เปลี่ยน คุณเกษราภรณ์ หลวงจันทร์ ผู้ก่อตั้งศูนย์ล้อไม้เฟอร์นิเจอร์ จังหวัดขอนแก่น
• ส่งต่อ ‘โอกาส’ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ คุณฉัตรชัย อภิบาลพูนผล ผู้บริหารบริษัท กล่องดินสอ จำกัด
• ‘การศึกษาทางเลือก’ ทางออกของการพัฒนาเยาวชนนอกระบบ ดร.เนตรดาว ยั่งยุบล ผู้ประสานงานเครือข่ายการทำงานเด็กนอกระบบการศึกษา 41 เครือข่าย กสศ.
• ห้องเรียนชุมชน...กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ ดร.สมคิด แก้วทิพย์ ผู้จัดการโครงการทุนพัฒนาอาชีพและนวัตกรรมที่ใช้ชุมชนเป็นฐาน (กสศ.)
สำหรับผู้ที่สนใจร่วมงานเสวนาออนไลน์ระบบ zoom สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้แล้วตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 น. คลิก Link : shorturl.at/csOST หรือ Scan QR code ในโปสเตอร์
ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา