โลโก้เว็บไซต์ วิทยาลัยฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแข่งขันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs : SDGs Hackathon | วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ

วิทยาลัยฯ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแข่งขันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs : SDGs Hackathon

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 31 สิงหาคม 2566 โดย นายนิพนธ์ เขื่อนแก้ว จำนวนผู้เข้าชม 1299 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม - 2 กันยายน 2566 ณ เมาท์เท่น คลิก เวลล์เนส รีสอร์ท เชียงใหม่

วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการแข่งขันพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs : SDGs Hackathon 

ดร.นพดล มณีเฑียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยการกล่าวรายงาน วัตถุประสงค์ของการจัดโครงการฯ
ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จัตตุฤทธิ์ ทองปรอน รักษาราชการแทน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการฯ
และได้กล่าวให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมแข่งขันว่า

"การเรียนรู้คือเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และต่อยอดการจัดการศึกษาทางด้านวิชาชีพและเทคโนโลยี เพื่อมุ่งสู่มหาวิทยาลัยนวัตกรรมเพื่อชุมชน"

ในการนี้ ยังได้รับเกียรติจากวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ปราถนา ใจผ่อง ผู้อำนวยการวิทยาลัยการศึกษาตลอดชีพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรธิดา ไชยปะ ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจักร เมืองใจ ผู้ช่วยอธิการบดี ด้านแผนงานใต้ร่มพระบารมี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

โดยกิจกรรมมีทั้งสิ้น 3 วัน แบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้
- กิจกรรม Workshop แนวคิด SDGs ผ่านบอร์ดเกม
- การบรรยายหัวข้อ "ความรู้พื้นฐานเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)"
- การบรรยายหัวข้อ "การบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคส่วนอื่นๆ เพื่อบรรลุ SDGs"
- การนำแนวคิด SDGs ไปใช้กับการเรียนการสอน งานวิจัยและบริการวิชาการ
- การแข่งขัน 24 Hours SDGs Hackathon และการนำเสนอผลงาน

โดยมีผู้เข้าร่วมอบรมและแข่งขันกว่า 60 ราย ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 7,000 บาท 

ข่าวโดย : งานประชาสัมพันธ์ วทส.
รูปภาพจาก : คุณธมนวรรณ จิตบาล / อ.สิทธิศักดิ์ ยี่ยวน / นิพนธ์ เขื่อนแก้ว

 







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา