โลโก้เว็บไซต์ ตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 12 เดือน โครงการการพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด | วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ

ตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 12 เดือน โครงการการพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด

เผยแพร่เมื่อ : พฤหัสบดี 12 ตุลาคม 2566 โดย Natthida Wongpaeng จำนวนผู้เข้าชม 1234 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา กลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU มทร.ล้านนา ได้เข้าร่วมสังเกตุการณ์ การตรวจติดตามผลการดำเนินงานและรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินโครงการรอบ 12 เดือน โครงการการเคลื่อนย้ายบุคลากรเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยในภาคอุตสาหกรรม (Talent Mobility) ประจำปีงบประมาณ 2565 รอบที่ 1 ณ สถานประกอบการ บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด "โครงการ การพัฒนาเครื่องอัดประจุไร้สายสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย นำโดย ผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ร่วมด้วย บริษัทโชเซ่น เทคโนโลยี จำกัด "

นำโดย รศ.ดร.อมรรัตน์ แก้วประดับ กรรมการทางด้านเทคนิค, ดร.ผ่องศรี เวสารัช กรรมการทางด้านทรัพย์สินทางปัญญา, น.ส.สิมิลัน เลิศพลรัตน์ ผู้ประสานงาน TM มจธ. ,ว่าที่ร้อยตรีณัฐพล เฟื่องประภัสสร์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สป.อว., นายทัศนัย โสคันธิกอุบล นักวิเคราะห์นโยบายและแผน สป.อว.และ ผศ.ว่าที่ร้อยโทสุรพิน พรมแดน หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ SPU พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมประเมิน ติดตามความก้าวหน้า และให้คำแนะนำในการเข้าร่วมติดตามผลการดำเนินงานโครงการฯ และส่งมอบผลผลิตโครงการ TM รอบ 12 เดือน

ทั้งนี้คุณวรพจน์  รื่นเริงวงศ์ ประธานบริษัทได้เข้าร่วมรับฟัง ร่วมแสดงความคิดเห็น และนำเสนอวัตถุประสงค์การเข้าร่วมโครงการ อีกทั้งนำเสนอบริษัทให้เป็นที่รู้จัก โดยผศ.ดร.อนนท์ นำอิน หัวหน้าโครงการ ได้รายงานความก้าวหน้าตามตัวชี้วัด และได้รายงานถึงความสำคัญของโครงการที่ส่งผลต่อการพัฒนาโครงการเพื่อธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าต่อยอดภายในอนาคต ทั้งนี้ได้รับคำแนะนำจากคณะกรรมการเพื่อต่อยอดโครงการให้ภาคอุตสาหกรรมก้าวไกลและเห็นผลได้จริงภายในอนาคต รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา