โลโก้เว็บไซต์ คณะกรรมการประสานกิจเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคกลาง เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน มทร.ล้านนา | วิทยาลัยเทคโนโลยีและสหวิทยาการ

คณะกรรมการประสานกิจเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคกลาง เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน มทร.ล้านนา

เผยแพร่เมื่อ : ศุกร์ 14 ธันวาคม 2561 โดย วิทยา กวีวิทยาภรณ์ จำนวนผู้เข้าชม 2733 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

           วันที่ 14 ธันวาคม 2561 รศ.ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พร้อมด้วย ดร.ธีรศักดิ์ อุรัจนานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนักศึกษา ผศ.สมเกียรติ วงษ์พานิช ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน และผู้ดูแลโครงการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน (WIL) ให้การต้อนรับคณะกรรมการประสานกิจเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เขตภาคกลาง นำโดย รศ.ดร.ลดาวัลย์ พวงจิตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโอกาสเดินทางเข้าศึกษาดูงานและหารือในประเด็นการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน ของโครงการบริษัทสยามมิชลิน จำกัด โครงการบริษัทเบทาโกร จำกัด (มหาชน) โครงการบริษอนัตตากรีน จำกัด และโครงการบริษัทในเครือกลุ่มเซ็นทรัล ณ ห้องประชุม 1 อาคาอำนวยการ โดยผู้รับผลิตชอบในแต่ละโครงการร่วมให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะศึกษาดูงาน ด้านการบริหารจัดการเพื่อให้โครงการ WIL ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้รับประโยชน์สูงสุด  

          สำหรับแนวคิดในการการจัดการเรียนการสอนและวิจัยแบบบูรณาการกับการทำงาน (Work Integrated Learning : WIL)  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้พัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม และสนองตอบต่อความต้องการของประเทศ โดยหลักสูตรใหม่ในปี 2560 มุ่งเน้นให้เกิดกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ ลดจำนวนหลักสูตรลงจาก 58 หลักสูตรเหลือ 38 หลักสูตร ปรับปรุงวิชาศึกษาทั่วไปเน้นการบูรณาการศาสตร์มากยิ่งขึ้น ซึ่งการจัดการศึกษาในรูปแบบของสายวิชาชีพโดยการบูรณาการศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้นั้น ถือว่าเป็นวาระสำคัญที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนามุ่งมั่นและให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก  ประเด็นสำคัญคือ บัณฑิตที่เราผลิตออกสู่ตลาดแรงงานไปแล้วนั้น สามารถตอบสนองต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งด้านนวัตกรรม ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความก้าวหน้าทางวิจัย วันนี้มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในรูปแบบที่จัดสรรเวลาส่วนหนึ่งให้ผู้เรียนได้เข้าไปฝึกฝนในโรงงาน ลงมือปฏิบัติกับเครื่องมือและสถานการณ์จริง ไม่ใช่การทดลองทำเพียงแค่ในมหาวิทยาลัย โดย รูปแบบความร่วมมือของแต่ละสถานประกอบการแตกต่างกันไปตามความเหมาะสม ซึ่งก็คือการจัดการศึกษาที่เรียกว่าการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการ การเรียนรู้กับการทำงาน (Work-intergraded Learning: WiL) เช่น สหกิจศึกษา (Co-operating Education)โรงเรียนในโรงงาน (School in Factory: SiF) ที่จัดการเรียนการสอนในสถานประกอบการ โดยผู้เรียนจะได้เรียนรู้ทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ อาทิ กลุ่มบริษัทบีดีไอ(BDI Group) บริษัท สยามมิชลิน จำกัด กลุ่ม CP All และกลุ่มเซ็นทรัล ผลจากการจัดการศึกษารูปแบบนี้ ทำให้ภาคประกอบการได้บุคลากรที่มีทักษะ ความรู้ตรงกับความต้องการและเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคนด้านเทคนิค นักเทคโนโลยี และวิศวกรนักปฏิบัติของประเทศอีกทางหนึ่ง







ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา